การส่งสินค้าขนาดใหญ่ไปต่างประเทศ | SME Shipping

สินค้าขนาดใหญ่ ส่งไปต่างประเทศอย่างไรให้คุ้มต้นทุนที่สุด

การส่งสินค้าขนาดใหญ่ไปต่างประเทศเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อต้นทุน เช่น ค่าขนส่ง ภาษีนำเข้า วิธีการจัดส่ง และการบรรจุภัณฑ์ หากไม่มีการวางแผนที่ดี อาจทำให้ต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้การส่งสินค้าคุ้มค่ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิธีขนส่งที่เหมาะสม ใช้บริษัทโลจิสติกส์ที่มีราคาประหยัด หรือการลดต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์  ซึ่งในบทความนี้ของ SME Shipping จะพาคุณไปรู้จักกับแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าขนาดใหญ่ไปต่างประเทศให้คุ้มค่าที่สุด

1.เลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสม

การเลือกวิธีขนส่งที่เหมาะสมช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้าขนาดใหญ่ การเลือกส่งสินค้าให้คุ้มต้นทุนที่สุดจึงควรพิจารณาความเร็ว ค่าใช้จ่าย และข้อจำกัดของแต่ละช่องทาง ดังนี้

     1.1 ส่งทางเรือ (Sea Freight): เหมาะกับสินค้าขนาดใหญ่และหนัก มีต้นทุนต่ำกว่าทางอากาศ แต่ใช้เวลานาน (2-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปลายทาง)

  • FCL (Full Container Load): เช่าตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้ คุ้มค่าสำหรับสินค้าปริมาณมาก
  • LCL (Less than Container Load): แชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ เหมาะสำหรับสินค้าจำนวนน้อยที่ไม่เต็มตู้

     1.2 ส่งทางอากาศ (Air Freight): เหมาะกับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็ว แต่มีต้นทุนสูง เหมาะสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูงและน้ำหนักเบา

     1.3 ส่งทางรถบรรทุกหรือรถไฟ (Rail/Road Freight): ใช้ได้กับบางประเทศ เช่น ในเอเชียหรือยุโรป ค่าขนส่งต่ำกว่าทางอากาศและเร็วกว่าทางเรือ

2. ใช้บริษัทขนส่งที่ให้บริการครบวงจร

การเลือกบริษัทโลจิสติกส์ที่มีบริการขนส่งแบบครบวงจร ตั้งแต่การรับสินค้า แพ็กกิ้ง ไปจนถึงการจัดการศุลกากร เพื่อความสะดวกและลดความยุ่งยากในการจัดส่ง ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทขนส่งที่ครอบคลุมทุกบริการทั้งในและต่างประเทศ เช่น

  • DHL Express: ให้บริการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ โดยรองรับน้ำหนักสูงสุด 1,000 กิโลกรัมต่อชิ้น และน้ำหนักรวมไม่เกิน 3,000 กิโลกรัมต่อการจัดส่ง ขนาดสูงสุดต่อชิ้นคือ ความยาว 300 ซม. และความกว้าง 200 ซม. ​
  • TNT Express: มีบริการจัดส่งพัสดุขนาดใหญ่ โดยมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับพัสดุที่มีขนาดเกินมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับประเภทของบริการที่เลือก ​
  •  LIDI Express: ให้บริการส่งของไปต่างประเทศสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ เช่น ของใช้ส่วนตัว เฟอร์นิเจอร์ และการย้ายบ้าน พร้อมบริการเข้ารับถึงที่ทั่วประเทศ และส่งตรงถึงหน้าบ้านปลายทาง ​
  •  SME SHIPPING: เชี่ยวชาญในการขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ไปยังต่างประเทศทั่วโลก เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม และลูกค้ารายย่อยทั่วไป ​
  • Fast Ship: เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปกับบริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศ ผ่านบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำ เช่น FedEx, Aramex, UPS ​

3.  คำนึงถึงค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับพัสดุขนาดใหญ่

การส่งพัสดุที่มีขนาดหรือความยาวเกินมาตรฐานอาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เช่น พัสดุที่มีความยาวเกิน 100 เซนติเมตร อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าพื้นที่จัดเก็บ ค่าขนย้ายพิเศษ หรือค่าธรรมเนียมการส่งด่วน ดังนั้น ก่อนทำการส่งสินค้าจึงควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เนื่องจากต้องใช้พื้นที่มากขึ้นและอาจต้องใช้พาหนะพิเศษในการขนส่ง

4. การแพ็กสินค้าที่เหมาะสม

การแพ็กสินค้าควรทำอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันการกระแทกและความเสียหายระหว่างการขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าที่บอบบาง ควรห่อด้วยวัสดุป้องกันการกระแทกหลายชั้น และปิดผนึกกล่องพัสดุให้เรียบร้อย ​ลดต้นทุนค่าขนส่ง ควรเลือกวัสดุที่แข็งแรง แต่มีน้ำหนักเบาเพื่อลดค่าใช้จ่าย

5. ศึกษาภาษีนำเข้าและค่าธรรมเนียมปลายทาง

ในแต่ละประเทศมีกฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีนำเข้าและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน การศึกษาและเตรียมเอกสารให้ถูกต้องจะช่วยหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดได้ ดังนั้นก่อนทำการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ไปต่างประเทศอย่าลืมตรวจสอบเอกสารเหล่านี้ให้เรียบร้อย

  • ตรวจสอบพิกัดศุลกากร (HS Code) และอัตราภาษีของประเทศปลายทาง
  • ใช้เงื่อนไข DDP (Delivered Duty Paid) หรือ DAP (Delivered at Place) ตามข้อตกลงกับลูกค้า เพื่อลดต้นทุนรวม

การส่งสินค้าขนาดใหญ่ไปต่างประเทศให้คุ้มค่าต้นทุนต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาด น้ำหนัก ปลายทาง และระยะเวลาที่ต้องการให้สินค้าถึงที่หมาย ดังนั้น การเลือกบริษัทขนส่งที่เหมาะสมและการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การส่งสินค้าขนาดใหญ่ไปต่างประเทศเป็นไปอย่างคุ้มค่า ปลอดภัย และคุ้มต้นทุนที่สุดนั่นเอง 

Shipping Label คืออะไรกับสิ่งที่คุณควรรู้ | SME Shipping

Shipping Label คืออะไร? วิธีทำให้ถูกต้องเพื่อลดความผิดพลาดในการขนส่ง

ในยุคที่การค้าขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญ หนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยให้กระบวนการนี้ราบรื่นคือ “Shipping Label” หรือ ฉลากขนส่ง เป็นอีกหนึ่งเอกสารที่แนบมากับพัสดุเพื่อนำส่งสินค้าไปยังปลายทาง เพื่อช่วยลดความผิดพลาดในระหว่างการขนส่ง เพราะหากฉลากขนส่งมีข้อผิดพลาด อาจทำให้พัสดุตกหล่น ส่งล่าช้า หรือถึงที่หมายผิดพลาดได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการและผู้ส่งสินค้าจึงควรให้ความสำคัญกับการออกแบบและติดตั้ง Shipping Label อย่างถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ของ SME Shipping จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Shipping Label และวิธีการใช้งานให้ถูกต้องเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการขนส่ง

Shipping Label คืออะไร

Shipping Label คือ ฉลากที่ระบุข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพัสดุ เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้ส่ง ชื่อและที่อยู่ผู้รับ หมายเลขติดตามพัสดุ (Tracking Number) บาร์โค้ด หรือ QR Code ที่ใช้สำหรับตรวจสอบสถานะการจัดส่ง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทขนส่ง ขนาด น้ำหนัก และประเภทของสินค้า ฉลากนี้ช่วยให้บริษัทขนส่งสามารถจัดการพัสดุได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ภาพประกอบ: https://craftmypdf.com/tools/free-online-shipping-label-maker/ 

ความสำคัญของ Shipping Label

หนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยให้พัสดุถึงมือผู้รับได้อย่างถูกต้องคือ Shipping Label หรือ ฉลากขนส่ง ซึ่งเป็นสติกเกอร์หรือเอกสารที่ติดอยู่บนกล่องพัสดุเพื่อระบุรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการจัดส่ง โดย Shipping Label ที่ชัดเจนและถูกต้องไม่เพียงช่วยให้บริษัทขนส่งดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังลดปัญหาการส่งผิดพลาดและป้องกันพัสดุสูญหาย และข้อดีอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการควรใช้ให้ถูกต้อง ได้แก่

  1. ป้องกันข้อผิดพลาดในการจัดส่ง เพราะข้อมูลที่ถูกต้องช่วยให้พัสดุถูกส่งไปยังที่หมายอย่างแม่นยำ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ช่วยให้บริษัทขนส่งสามารถคัดแยกและจัดลำดับการส่งได้ง่ายขึ้น
  3. ติดตามสถานะพัสดุได้สะดวกจากหมายเลขติดตามและบาร์โค้ด ช่วยให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถตรวจสอบสถานะสินค้าได้ตลอดเวลา
  4. ลดต้นทุนจากการส่งผิดหรือสูญหาย หาก Shipping Label ชัดเจนและถูกต้อง จะช่วยลดโอกาสที่พัสดุจะถูกส่งผิดที่หรือสูญหาย 

วิธีลดความผิดพลาดในการขนส่งด้วย Shipping Label

  1. ตรวจสอบที่อยู่ผู้รับให้ละเอียด โดยชื่อที่อยู่ของผู้รับต้องถูกต้องและครบถ้วน รวมถึงรหัสไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการสะกดชื่อผิด หรือที่อยู่ไม่ชัดเจน
  2. เลือกบริการขนส่งที่เหมาะสม ต้องคำนึงถึงขนาด น้ำหนัก ประเภทของสินค้า เลือกขนาดกล่องหรือพัสดุที่พอดีกับสินค้าจะช่วยลดความเสียหายและค่าส่ง
  3. ระบุรายละเอียดการติดตาม (Tracking Number) เพื่อให้สามารถตรวจสอบว่าเลขพัสดุ (Tracking Number) ถูกรวมใน Shipping Label และสามารถใช้ติดตามสถานะของการขนส่งได้
  4. ตรวจสอบความชัดเจนและความสมบูรณ์ของข้อมูล โดยเลือกใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรเล็ก หรือฟอนต์ที่ยากต่อการอ่าน
  5. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการชำระเงิน (ถ้ามี)
  6. ติดป้ายในที่ที่เหมาะสม โดยป้ายควรติดที่ด้านบนหรือด้านข้างของพัสดุ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ขนส่งสามารถเห็นข้อมูลได้ชัดเจน และหากมีหลายป้ายควรติดให้พอดี และตรวจสอบว่าไม่มีข้อมูลซ้ำซ้อน
  7. ตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขในการส่งสินค้าของบริการขนส่งว่ามีข้อจำกัดหรือสินค้าบางประเภทห้ามส่งหรือไม่ เช่น ของเหลวหรือของอันตราย

การให้ความสำคัญกับ Shipping Label และตรวจสอบรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนการส่งพัสดุ จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการขนส่ง สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า และช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ควรมองหาสำหรับบริการช่วยแพ๊คสินค้า | SME Shipping

บริการที่ควรมองหาสำหรับบริการช่วยแพ๊คสินค้า

การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งสินค้า หนึ่งในสิ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ คือการแพ็คสินค้าก่อนนำไปส่งให้กับผู้รับ เพราะหากสินค้าที่แพ็คไปเกิดความสเียหายระหว่างการขนส่งก็อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะด้านความน่าเชื่อถือและต้นทุนการขนส่งที่ต้องรับเมื่อลูกค้าตีของกลับมายังร้านของผู้ประกอบการ ซึ่งในบทความนี้ของ SME Shipping จะพาคุณไปทำความรู้จักกับบริการที่ควรมองหาเมื่อต้องการใช้บริการช่วยแพ็คสินค้า

บริการแพ็คสินค้า คืออะไร?

บริการแพ็คสินค้า คือบริการที่ช่วยบรรจุและจัดเตรียมสินค้าสำหรับการจัดส่งหรือจำหน่าย โดยมุ่งเน้นให้สินค้าถูกแพ็คอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีมาตรฐาน ซึ่งช่วยลดความเสียหายระหว่างการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เป็นอีกบริการที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดในการขนส่ง เพราะผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้บริการแพ็คสินค้าที่เหมาะสมสามารถช่วยให้สินค้าถูกบรรจุอย่างปลอดภัย ลดความเสียหายระหว่างการขนส่ง และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าด้วยบริการที่มีมาตรฐาน

องค์ประกอบของบริการแพ็คสินค้า

  • การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กล่องกระดาษ แพ็คสูญญากาศ หรือกันกระแทก
  • การซีลหรือห่อหุ้มสินค้า เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือการกระแทก
  • การติดฉลากหรือบาร์โค้ด เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและจัดส่ง
  • บริการเสริมอื่น ๆ เช่น การจัดเซ็ตสินค้า การพิมพ์โลโก้ หรือการแพ็คตามเงื่อนไขเฉพาะ

ความสำคัญของบริการแพ็คสินค้าในระบบโลจิสติกส์

บริการแพ็คสินค้ามีบทบาทสำคัญในระบบโลจิสติกส์ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหาย และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า การแพ็คสินค้าที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันความเสียหายระหว่างการขนส่ง แต่ยังช่วยให้กระบวนการจัดเก็บ คัดแยก และจัดส่งเป็นระบบมากขึ้น

  1. ป้องกันความเสียหายของสินค้า ลดความเสี่ยงจากการกระแทก ความชื้น หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้สินค้าชำรุดระหว่างการขนส่ง
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง เพราะการแพ็คที่ดีช่วยให้สินค้าสามารถซ้อนกันได้ง่าย ประหยัดพื้นที่ในคลังสินค้าและพาหนะขนส่ง
  3. ช่วยให้การบริหารคลังสินค้าเป็นระบบมากขึ้น เพราะสินค้าที่ถูกแพ็คอย่างเหมาะสมสามารถจัดเก็บและคัดแยกได้ง่าย ลดเวลาการค้นหาและขนย้าย
  4. เพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจ เนื่องจากการแพ็คสินค้าที่ดีช่วยให้สินค้าถึงมือลูกค้าในสภาพสมบูรณ์ สร้างความพึงพอใจ และเพิ่มโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำจากความใส่ใจในข้อนี้
  5. รองรับการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว บริการแพ็คสินค้าช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการคำสั่งซื้อจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เลือกบริการแพ็คที่มั่นใจ เลือกใช้ SME Shipping

หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการแพ็คสินค้าที่มีคุณภาพ SME Shipping เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาด โดยให้บริการแพ็คสินค้าระดับมืออาชีพที่ช่วยลดความยุ่งยากของผู้ประกอบการ และช่วยให้กระบวนการขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นด้วยการบริการที่ใส่ในทุกสินค้าของคุณ รวมทั้งข้อดีอื่นๆ เมื่อใช้บริการของเรา อาทิ

  • ใช้วัสดุคุณภาพสูงในการแพ็คสินค้าตามมาตรฐานสากล เพื่อลดความเสียหายระหว่างขนส่ง
  • รองรับทั้งสินค้าเปราะบาง สินค้าน้ำหนักเบา และสินค้าขนาดใหญ่
  • ไม่ต้องเสียเวลาจัดเตรียมอุปกรณ์เอง SME Shipping ดูแลให้ทั้งหมด เพื่อช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการทำงาน
  • รองรับการขนส่งระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานศุลกากร พร้อมบริการขนส่งทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

วิธีการคำนวนภาษีนำเข้าสำหรับผู้ประกอบการ | SME Shipping

วิธีการคำนวณภาษีนำเข้าที่ผู้ประกอบการควรรู้

การนำเข้าสินค้าเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเพื่อบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการทำความรู้จักกับภาษีนำเข้าไม่ได้มีเพียงแต่อากรขาเข้าเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการยังจะสามารถคำนวณเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของสินค้าในธุรกิจนั้นๆ ของตนเองได้ด้วย ซึ่งการคำนวณภาษีที่ถูกต้องช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนด้านการเงินได้อย่างแม่นยำ ลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด รวมถึงช่วยให้ปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรได้อย่างถูกต้อง ซึ่งวันนี้ SME Shipping จะมาอธิบายวิธีการคำนวณภาษีนำเข้าพร้อมตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

การคำนวณภาษีนำเข้าที่ผู้ประกอบการควรรู้มีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้

1. องค์ประกอบของภาษีนำเข้า

ภาษีนำเข้าประกอบด้วยค่าภาษีหลายประเภท ได้แก่

  • อากรขาเข้า (Import Duty) – คิดตามพิกัดอัตราศุลกากร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT – Value Added Tax) – คิดจากมูลค่าสินค้ารวมอากรขาเข้า
  • ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) [ถ้ามี] – คิดเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าต้องห้ามบางประเภท
  • ภาษีเพื่อมหาดไทย (Local Tax) [ถ้ามี] – ใช้กับสินค้าบางประเภท

ในการนำเข้าสินค้าไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม ผู้นำเข้าสินค้านั้นๆ จะต้องทำความเข้าใจวิธีการคำนวณภาษีเพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าภาษีต้นทุนที่ต้องนำไปกำหนดราคาขายด้วย โดยกรมศุลกากรมีวิธีการคิดภาษีนำเข้าโดยใช้ราคา CIF (Cost Insurance and Freight) ที่เป็นมูลค่ารวมของสินค้า ณ ท่าเรือปลายทาง ซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีนำเข้า โดยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. Cost (C) – ราคาสินค้า ณ ต้นทาง (FOB – Free on Board)
  2. Insurance (I) – ค่าประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่ง 
  3. Freight (F) – ค่าขนส่งสินค้าจากต้นทางถึงปลายทาง

กรมศุลกากรจะใช้ ราคา CIF เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีนำเข้า เช่น อากรขาเข้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการลดมูลค่าสินค้า

2. สูตรการคำนวณภาษีนำเข้า

การคำนวณภาษีที่ถูกต้องช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมต้นทุน ลดความเสี่ยงจากค่าปรับ และปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรได้อย่างถูกต้อง และวิธีการคำนวณภาษีนำเข้าที่ผู้ประกอบการควรรู้ มีสูตรการคำนวณ ดังนี้

  • คำนวณราคา CIF: ค่าสินค้า+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่งระหว่างประเทศ=CIF
  • คำนวณอากรขาเข้า: CIF×อัตราภาษีขาเข้า(%) = อากรขาเข้า (อัตราภาษีขาเข้าอาจเป็น 5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า)
  • คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%): (CIF+อากรขาเข้า)×7%=ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • รวมภาษีนำเข้าที่ต้องชำระ: อากรขาเข้า+ภาษีมูลค่าเพิ่ม=มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ

ผู้ประกอบการต้องคำนวณภาษีนำเข้าอย่างถูกต้องทุกครั้งในการนำเข้าสินค้า เพื่อให้สามารถวางแผนต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมศุลกากรใช้ ราคา CIF (Cost, Insurance, and Freight) เป็นฐานในการคำนวณภาษีนำเข้า ซึ่งรวมถึง อากรขาเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การเข้าใจสูตรการคำนวณที่ถูกต้องจะช่วยลดความผิดพลาดและทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น


ข้อควรรู้เพิ่มเติม

✅ ตรวจสอบ HS Code (พิกัดศุลกากร) ของสินค้า เพื่อทราบอัตราภาษีที่ถูกต้อง
✅ ตรวจสอบ FTA (ข้อตกลงการค้าเสรี) อาจได้รับสิทธิพิเศษลดภาษี
✅ ใช้ ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Form) ประกอบการนำเข้าทุกครั้ง

วิธีการชำระเงินสินค้าต่างประเทศ | SME Shipping

วิธีการชำระเงินสินค้าต่างประเทศมีแบบใดบ้าง?

 ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ การเลือกวิธีการชำระเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมั่นใจในความปลอดภัยของธุรกรรม รวมถึงลดความเสี่ยงในการชำระเงินและการส่งมอบสินค้า การชำระเงินสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างคู่ค้า ปัจจัยด้านความสะดวก ค่าธรรมเนียม และระดับความปลอดภัยของแต่ละวิธี ซึ่งวันนี้ SME Shipping จะพาคุณไปรู้จักกับการชำระเงินระหว่างประเทศว่ามีวิธีการชำระเงินสินค้าแบบใดบ้าง

การชำระเงินระหว่างประเทศ (International Payment) คืออะไร?

การชำระเงินระหว่างประเทศคือกระบวนการทางการเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายที่อยู่ในประเทศต่างกันใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยอาจเกี่ยวข้องกับการโอนเงินข้ามพรมแดนผ่านธนาคาร ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

การชำระเงินระหว่างประเทศมีกี่ประเภท?

การชำระเงินระหว่างประเทศสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามวิธีการและเงื่อนไขของการชำระเงิน ดังนี้

1.ชำระเงินล่วงหน้า (Advance Payment / Prepayment)

  • ผู้ซื้อชำระเงินเต็มจำนวนหรือบางส่วนก่อนที่ผู้ขายจะส่งสินค้า
  • ลดความเสี่ยงสำหรับผู้ขาย แต่เพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ซื้อ
  • มักใช้เมื่อผู้ขายต้องการเงินทุนล่วงหน้า หรือผู้ซื้อไม่มีเครดิตที่ดี

2. การชำระเงินโดยตรง (Open Account Payment)

  • ผู้ขายส่งสินค้าให้ก่อน และกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน เช่น 30, 60 หรือ 90 วัน
  • เหมาะกับธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ทางการค้าและความไว้วางใจระหว่างกัน
  • มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ขาย เพราะผู้ซื้ออาจผิดนัดชำระเงิน

3. การเก็บเงินผ่านเอกสาร (Documentary Collection – D/C) 

ธนาคารเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยจะส่งเอกสารการค้าให้ผู้ซื้อผ่านธนาคารผ่าน 2 รูปแบบหลัก คือ

  • Documents Against Payment (D/P) → ผู้ซื้อจ่ายเงินก่อนรับเอกสาร
  • Documents Against Acceptance (D/A) → ผู้ซื้อรับเอกสารก่อน แล้วชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด

4. หนังสือเครดิต (Letter of Credit – L/C)

  • ธนาคารของผู้ซื้อให้การรับประกันว่าจะชำระเงินให้ผู้ขายตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
  • ลดความเสี่ยงให้ทั้งสองฝ่าย และนิยมใช้ในธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
  • มีค่าธรรมเนียมสูง และต้องใช้เอกสารจำนวนมาก

5. การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment – E-Payment) 

แพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และลดค่าธรรมเนียมเมื่อเทียบกับการโอนผ่านธนาคาร เช่น

  • SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication)
  • PayPal, Wise, Payoneer
  • Alipay, WeChat Pay

6. การโอนเงินผ่านธนาคาร (Bank Transfer / Telegraphic Transfer – T/T)

  • ธนาคารของผู้ซื้อโอนเงินไปยังบัญชีของผู้ขายผ่านเครือข่าย SWIFT หรือระบบธนาคารระหว่างประเทศอื่นๆ
  • มีค่าธรรมเนียม และอาจใช้เวลาหลายวันขึ้นอยู่กับธนาคารปลายทาง

7. การใช้สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency Payment)

  • ใช้ Bitcoin, Ethereum หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมจากธนาคาร และทำธุรกรรมได้รวดเร็ว
  • มีความเสี่ยงสูงจากความผันผวนของราคา และข้อจำกัดทางกฎหมายในบางประเทศ

วิธีการชำระเงินสินค้าต่างประเทศมีแบบใดบ้าง?

การเลือกวิธีการชำระเงินเพื่อชำระค่าสินค้าต่างประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความปลอดภัย ค่าธรรมเนียม ระยะเวลาการทำธุรกรรม และเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอย่างครบถ้วน ซึ่งวิธีการชำระเงินค่าสินค้าที่พบเห็นกันบ่อยในการค้าระหว่างประเทศมี 4 วิธี ได้แก่

1. T/T (Telegraphic Transfer) การโอนเงินผ่านธนาคาร เป็นการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบ SWIFT หรือเครือข่ายธนาคาร โดยผู้ซื้อโอนเงินไปยังบัญชีของผู้ขายโดยตรง มักใช้ในกรณีที่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

  • ข้อดี: เหมาะสำหรับการซื้อขายทั่วไป เป็นธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมสม่ำเสมอ มีความปลอดภัย  และสามารถใช้ชำระเงินเป็นงวดตามข้อตกลง
  • ข้อเสีย: มีค่าธรรมเนียมการโอนที่อาจสูงขึ้นอยู่กับประเทศปลายทาง และผู้ซื้อมีความเสี่ยงหากผู้ขายไม่ส่งสินค้า หรือส่งสินค้าผิดเงื่อนไข

2. L/C (Letter of Credit) หนังสือเครดิต เป็นวิธีการชำระเงินโดยธนาคารของผู้ซื้อออกหนังสือค้ำประกันการชำระเงินให้ผู้ขาย และการชำระเงินจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนด มักใช้ในธุรกิจที่มีมูลค่าสูง เช่น การนำเข้า-ส่งออก

  • ข้อดี: เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ หรือกรณีที่คู่ค้าไม่เคยทำธุรกิจร่วมกันมาก่อน เพราะเป็นการลดความเสี่ยงให้ทั้งสองฝ่าย เนื่องจากมีธนาคารเป็นตัวกลาง เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ขายว่าจะได้รับเงินเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข
  • ข้อเสีย: มีค่าธรรมเนียมสูงกว่าการโอนเงินแบบ T/T และใช้เวลาในกระบวนการนานกว่าเพราะต้องใช้เอกสารจำนวนมาก

 3. PayPal / Wise ระบบชำระเงินออนไลน์เป็นแพลตฟอร์มชำระเงินดิจิทัลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เหมาะกับการซื้อขายออนไลน์และการค้าปลีก และการโอนเงินระหว่างประเทศในอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นกลาง

  • ข้อดี: ใช้งานง่ายและรวดเร็ว มีระบบคุ้มครองผู้ซื้อ (สำหรับ PayPal) และมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการโอนเงินผ่านธนาคาร
  • ข้อเสีย: ไม่รองรับทุกประเทศ และมีข้อจำกัดด้านกฎหมายในบางพื้นที่

 4. Open Account บัญชีเปิด (เครดิตการค้า) เป็นวิธีการชำระเงินสินค้าต่างประเทศที่ผู้ขายส่งสินค้าให้ก่อน และกำหนดเงื่อนไขการชำระเงิน เช่น 30, 60 หรือ 90 วัน นิยมใช้วิธีนี้เมื่อมีความไว้วางใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสูง เหมาะสำหรับบริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจระยะยาว

  • ข้อดี: ช่วยให้ผู้ซื้อมีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น และลดความยุ่งยากเรื่องเอกสารและกระบวนการชำระเงิน
  • ข้อเสีย: มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ขาย หากผู้ซื้อไม่จ่ายเงินตามกำหนด และอาจต้องมีประกันความเสี่ยงทางการค้าหรือใช้บริการรับประกันสินเชื่อ

ขายของใน Marketplace ใดขายดีที่สุด | SME Shipping

ขายของใน Marketplace คืออะไร? Marketplace ใดดีที่สุด?

 เริ่มต้นขายของใน Marketplace ควรเริ่มจากตรงไหนดี? ก่อนอื่นคุณจะต้องทำความรู้จักกับ Marketplace ก่อนว่ามันคืออะไร  และแต่ละแพลตฟอร์มมีจุดเด่นหรือข้อดีแตกต่างกันยังไง บางที่เหมาะกับสินค้าทั่วไป บางที่เหมาะกับของแฮนด์เมด หรือของนำเข้า การเข้าใจแพลตฟอร์มที่เลือกใช้จะช่วยให้คุณขายได้ง่ายขึ้น เข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่ม และใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อรู้พื้นฐานแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเตรียมตัวให้พร้อม ตั้งแต่การเลือกสินค้า การตั้งราคา ไปจนถึงการโปรโมทร้านให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งวันนี้ SME Shipping จะพาคุณไปรู้จักกับ Marketplace ให้มากขึ้นว่าธุรกิจของคุณเหมาะกับตลาดไหนมากที่สุด

Marketplace คืออะไร?

Marketplace คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น Marketplace ก็คือตลาดนัดออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มีลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง และผู้ขายก็สามารถลงประกาศขายสินค้า ตั้งราคาขาย และติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรง ผู้ซื้อเองก็สามารถเลือกชม เปรียบเทียบราคา และสั่งซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกขึ้น โดย Marketplace จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

  1. C2C (Consumer to Consumer): เป็นแพลตฟอร์มที่บุคคลทั่วไปสามารถขายสินค้าให้กับบุคคลอื่นได้ เช่น Facebook Marketplace, Kaidee, Shopee (หมวดสินค้ามือสอง)
  2.  B2C (Business to Consumer): เป็นแพลตฟอร์มที่ธุรกิจขายสินค้าให้กับลูกค้าทั่วไป เช่น Lazada, Shopee, JD Central, Amazon
  3. B2B (Business to Business): เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับการซื้อขายระหว่างธุรกิจ เช่น Alibaba, ThaiTrade

Marketplace ใดดีที่สุด?

การเลือก Marketplace เพื่อวางขายสินค้าแล้วถามว่าตลาดไหนดีที่สุด?  ในแต่ละตลาดจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทสินค้า กลุ่มเป้าหมาย ค่าธรรมเนียมการขาย และระบบสนับสนุนผู้ขาย โดยในปี 2025 นี้มี Marketplace ที่ได้รับความนิยมและเหมาะสมสำหรับการขายสินค้าในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

  1. Facebook ตลาดออนไลน์ที่เหมาะสำหรับขายสินค้ามือสอง ของใช้ทั่วไป และสินค้าในท้องถิ่น ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  2. Shopee แพลตฟอร์มตลาดที่เหมาะกับสินค้าหลากหลายประเภท มีระบบสนับสนุนการชำระเงินและจัดส่งสินค้า มีโปรโมชันดึงดูดลูกค้า
  3. Lazada แพลตฟอร์มตลาดที่เหมาะกับสินค้าประเภทอีคอมเมิร์ซ แบรนด์แท้ มีระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง
  4. JD Central ตลาดออนไลน์ที่เหมาะกับสินค้าไอที เครื่องใช้ไฟฟ้า และแบรนด์ที่ต้องการความน่าเชื่อถือ
  5. TikTok Shop แพลตฟอร์มที่เหมาะกับสินค้าที่สามารถโปรโมตผ่านคอนเทนต์วิดีโอ มีแนวโน้มเติบโตสูงเพราะเข้าถึงคนดูได้อย่างรวดเร็วผ่านการ Live สด
  6. Amazon & eBay แพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขายสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ มีสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าต่างชาติมากกว่าคนในประเทศ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มากขึ้น

เปรียบเทียบ Marketplace ยอดนิยมในปี 2025

Marketplaceจุดเด่นเหมาะกับสินค้าข้อจำกัด
Facebookใช้งานฟรี, เหมาะกับของมือสองของมือสอง, ของใช้ทั่วไปไม่มีระบบจัดส่ง, การมองเห็นโพสต์ไม่แน่นอน
Shopeeฐานลูกค้าขนาดใหญ่, รองรับ COD(บริการเก็บเงินปลายทาง)สินค้าทั่วไป, อีคอมเมิร์ซค่าธรรมเนียมขาย, แข่งขันสูง
Lazadaระบบร้านค้าดี, Fulfillmentอิเล็กทรอนิกส์, ของใช้ในบ้านค่าธรรมเนียมสูง, ต้องทำการตลาด
TikTok Shopขายผ่านวิดีโอ, ไลฟ์สดเครื่องสำอาง, เสื้อผ้าต้องผลิตคอนเทนต์, อัลกอริธึมเปลี่ยนแปลงบ่อย
Amazonตลาดสากล, Fulfillmentแบรนด์ที่ต้องการขายต่างประเทศค่าธรรมเนียมสูง, การแข่งขันสูง
eBayขายทั่วโลก, เหมาะกับของสะสมของสะสม, สินค้าหายากต้องตั้งค่าระบบการขายให้ดี

วิธีเลือก Marketplace ให้เหมาะกับสินค้า

  • หากต้องการ ขายของมือสองหรือสินค้าในท้องถิ่น → Facebook Marketplace, Kaidee
  • หากต้องการ ขายสินค้าใหม่ในตลาดทั่วไป → Shopee, Lazada
  • หากต้องการ ใช้วิดีโอและไลฟ์สดในการขาย → TikTok Shop
  • หากต้องการ ขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศ → Amazon, eBay
  • หากต้องการ ขายสินค้าแบรนด์แท้หรือพรีเมียม → JD Central

ในปี 2025 Shopee, Lazada และ TikTok Shop ยังคงเป็น Marketplace ยอดนิยมในไทย ส่วน Amazon และ eBay เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศ Facebook Marketplace เหมาะสำหรับการขายสินค้าทั่วไปโดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนั้นก่อนวางขายสินค้าอย่าลืมเลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะสมกับสินค้าและกลยุทธ์การขายให้ดี รวมทั้งเลือกระบบขนส่งที่ไว้ได้ใจ เพราะการจัดส่งสินค้าเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการขายของออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณควบคุมต้นทุนการผลิตและสร้างกำไรจากธุรกิจนั้นได้

15 สินค้ายอดนิยมสำหรับซื้อขายออนไลน์ | SME Shipping

เริ่มต้นลงทุน ขายของออนไลน์อะไรดี พบกับ 15 อันดับสินค้ายอดนิยม

ในยุคดิจิทัลที่การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การลงทุนขายของออนไลน์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำและโอกาสเติบโตสูง แต่การเลือกสินค้าที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ หากคุณกำลังมองหาไอเดียสำหรับสินค้าขายดี วันนี้ SME Shipping ได้รวบรวม 15 อันดับสินค้ายอดนิยมที่มีแนวโน้มมาแรง สินค้ายอดนิยมสำหรับคนที่กำลังมองหาว่าจะขาย ออนไลน์ อะไร ดี ในปี 2025 เพื่อเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างมั่นใจและตรงจุด

สินค้ายอดนิยมที่มียอดขายเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มาตั้งแต่ปี 2024 จะสามารถจำแนกออกเป็น 4 หมวดหลักๆ ได้แก่ 

สินค้าเพื่อความสนุกสนาน 

  • ของเล่นในน้ำ (แทรมโพลีนและของเล่นเด็ก)
  • มาลัยดอกไม้แบบฮาวาย
  • ท่อลม

สินค้าเพื่อบ้านและสวน

  • อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้า
  • อุปกรณ์เสริมสำหรับสระว่ายน้ำ
  • เป้น้ำ

สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม

  • อาหารและเครื่องดื่ม
  • ของกินเล่นหรือขนม
  • เสื้อผ้าแฟชั่น
  • สกินแคร์และเครื่องสำอาง
  • วิตามินและอาหารเสริม

สินค้าอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

  • กล่องสุ่ม Art Toy
  • เครื่องประดับ
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง
  • สินค้าอุปกรณ์ในครัว

15 อันดับสินค้ายอดนิยม

การเลือกสินค้าที่ตรงกับความสนใจและความถนัดเพื่อสร้างธุรกิจออนไลน์ จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ ประสบความสำเร็จ ซึ่งสินค้าแต่ละประเภทมีการเติบโตที่แตกต่างกันไปตามช่วงเวลา และข้อมูลยอดขายต่อไปนี้คือสินค้าที่มีแนวโน้มขายดีที่อาจทำให้คนที่กำลังมองหาสินค้าออนไลน์ตัดสินใจเลือกลงทุนได้ง่ายขึ้น 

  1. ของเล่นในน้ำ

ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 376% ในช่วงหน้าร้อน สินค้าอื่นๆ เช่น แทรมโพลีนและบ้านเด็กก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน 

  1. มาลัยดอกไม้แบบฮาวาย

ยอดขายเพิ่มขึ้น 356% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2025 และมาลัยข้อเท้าก็ขายดีในช่วงเทศกาล 

  1. ท่อลม

สินค้าแห่งความบันเทิงที่มาพร้อมกับความสร้างสรรค์ในทุกกิจกรรม ยอดขายเพิ่มขึ้น 274% 

  1. อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้า

ยอดขายเพิ่มขึ้น 234% สะท้อนถึงความสนใจในการทำสวนและกิจกรรมกลางแจ้ง

  1. อุปกรณ์เสริมสำหรับสระว่ายน้ำ

สินค้าสุดฮิตที่ช่วยเติมเต็มบรรยากาศให้มีชีวิตชีวาไม่ว่าจะเป็นห่วงยาง, ลูกบอลน้ำ หรือไฟใต้น้ำด้วยยอดขายเพิ่มขึ้น 220% ส่วนยอดขายสระว่ายน้ำเพิ่มขึ้น 156% 

  1. เป้น้ำ

ยอดขายเพิ่มขึ้น 215% สินค้าในกลุ่มกีฬาที่กำลังมาแรงยังรวมถึงสินค้าสำหรับเชียร์ลีดเดอร์และวอลเลย์บอล 

  1. อาหารและเครื่องดื่ม

คนไทยยังคงนิยมอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มหวานๆ หลังมื้ออาหาร ตลาดนี้มีการแข่งขันสูง แต่ยังมีโอกาสสำหรับผู้เริ่มต้น 

  1. ของกินเล่นหรือขนม

ขนมแปลกๆ หรือของกินเล่นได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มอย่าง TikTok 

  1. เสื้อผ้าแฟชั่น

เทรนด์การแต่งตัวมีการอัปเดตอยู่เสมอ เสื้อผ้าสไตล์เกาหลีหรือวินเทจยังคงขายดี 

  1. สกินแคร์และเครื่องสำอาง

ผู้คนหันมาดูแลผิวพรรณมากขึ้น สินค้ากลุ่มนี้ยังคงได้รับความนิยม 

  1. กล่องสุ่ม Art Toy

กระแสกล่องสุ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักสะสม 

  1. เครื่องประดับ

สินค้ากลุ่มนี้เป็นที่ต้องการ เนื่องจากสามารถเพิ่มลูกเล่นให้กับการแต่งตัว 

  1. วิตามินและอาหารเสริม

ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้สินค้ากลุ่มนี้ขายดี 

  1. ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง

สินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เช่น อาหารคุณภาพสูง ทรายแมวจากธรรมชาติ และแชมพูออร์แกนิก ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 

  1. สินค้าอุปกรณ์ในครัว

อุปกรณ์ทำอาหารและจัดเก็บในครัว เช่น หม้อทอดไร้น้ำมัน และเครื่องปั่นผลไม้แบบพกพา เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค 

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาไอเดียเริ่มต้นขายของออนไลน์ในปี 2025 สินค้ายอดนิยมเหล่านี้ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการทำกำไร ไม่ว่าจะเป็นของเล่นในน้ำ สกินแคร์และเครื่องสำอาง กล่องสุ่ม Art Toy หรืออาหารและขนมที่แปลกใหม่ ซึ่งตอบโจทย์ทั้งกระแสตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน การเลือกสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและการสร้างจุดเด่นให้แตกต่างจากคู่แข่งจะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนออนไลน์ได้

วิธีเลือกพาร์ทเนอร์ด้านการขนส่งสำหรับ SME | SME Shipping

ธุรกิจเติบโตด้วยการขนส่ง วิธีเลือกพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์ที่ใช่สำหรับธุรกิจ SME

การขนส่งสินค้าเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจ SME เติบโตและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ซึ่งการเลือกพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรพิจารณาในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ ประสบการณ์ของผู้ให้บริการ ระบบขนส่งออนไลน์ติดตามสินค้าได้ตลอดเวลา และความยืดหยุ่นของบริการ เช่น การจัดส่งด่วน การเก็บเงินปลายทาง และการติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์ การเปรียบเทียบต้นทุน การรับประกันความเสียหาย และการสนับสนุนลูกค้าที่ดีต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลาและคุ้มค่า โดยวันนี้เราจะมานำ SME Shipping หนึ่งในพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์ที่ใช่สำหรับธุรกิจ SME ทั้งขนาดเล็ก และขนาดกลางโดยเฉพาะ

SME Shipping ดียังไง?

SME Shipping คือบริการขนส่งที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพื่อช่วยให้การขนส่งออนไลน์มีความสะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่ามากขึ้นเหมาะกับความต้องการของธุรกิจ เช่น การจัดส่งแบบเก็บเงินปลายทาง (COD) การจัดส่งด่วนภายในวันเดียว และระบบติดตามสถานะพัสดุแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ SME Shipping ยังมีการดูแลลูกค้าตลอดการขนส่งออนไลน์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้ผู้ขาย สามารถส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา

วิธีเลือกพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์สำหรับธุรกิจ SME

การเลือกพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์ที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มความสะดวก สร้างความมั่นใจให้ลูกค้า และช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นวิธีเลือกพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์สำหรับธุรกิจ SME เพื่อให้ตอบโจทย์ในด้านต่าง ๆ ของการขายสินค้า มีดังนี้

  1. มีความน่าเชื่อถือและประสบการณ์ในการขนส่งสินค้าที่สามารถตรวจสอบรีวิวหรือความเห็นจากธุรกิจอื่นได้ เพื่อให้มั่นใจว่าพัสดุจะถูกส่งถึงปลายทางอย่างปลอดภัย
  2. มีบริการครอบคลุม เช่น การขนส่งด่วน บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) หรือการจัดส่งระหว่างประเทศ รวมถึงความยืดหยุ่นในการจัดการตามความต้องการของธุรกิจ
  3. ลองเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งระหว่างผู้ให้บริการหลายราย เพื่อให้ได้ต้นทุนการขนส่งออนไลน์ที่เหมาะสมโดยไม่ลดคุณภาพการบริการ
  4. มีระบบติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์ เพื่อให้คุณและลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะการจัดส่งได้อย่างสะดวก
  5. มีบริการลูกค้าที่ตอบสนองรวดเร็ว เช่น ช่องทางติดต่อผ่านโทรศัพท์หรือแชทที่พร้อมช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
  6. สามารถจัดการปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลหรือโปรโมชัน เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้าทันเวลา
  7. มีเงื่อนไขในการรับประกันสินค้าในกรณีสูญหายหรือเสียหายระหว่างการขนส่ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของธุรกิจ

การเลือกพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ SME จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า และทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นการเลือกพาร์ทเนอร์โลจิสติกส์ที่เหมาะสมต่อการขายสินค้า และการขนส่งออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นทุกประเภท

สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการสมัครขายของใน Amazon | SME Shipping

สมัครขายของใน Amazon ต้องเตรียมอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้ผ่าน

การสมัครขายสินค้าบน Amazon เพื่อเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการค้าขายสินค้าในยุคปัจจุบัน ซึ่งก่อนการเริ่มต้นขายสินค้า ร้านค้าจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอย่างละเอียด เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผ่านการตรวจสอบจาก Amazon และเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างราบรื่น การเตรียมความพร้อมในทุกขั้นตอนก่อนเริ่มสมัครขายสินค้าจะช่วยให้คุณสามารถผ่านกระบวนการสมัครและเริ่มต้นขายของในอเมซอนได้อย่างมั่นใจ และวันนี้ SME Shipping จะพาทุกคนไปทำตามขั้นตอนให้ผ่านฉลุยไปด้วยกัน

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนสมัครขายของใน Amazon

การสมัครขายของในอเมซอนเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์บนแพลตฟอร์มระดับโลก ร้านค้าควรเตรียมความพร้อมทั้งข้อมูลร้านค้าและสินค้า วิเคราะห์โปรไฟล์การขาย และเลือกแผนการขายที่เหมาะสม นอกจากนี้ การเตรียมเอกสารยืนยันตัวตน บัตรเครดิต และบัญชี Payoneer รวมถึงอีเมลสำหรับการสมัคร เพื่อให้การดำเนินการทุกอย่างผ่านและเริ่มต้นขายสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนี้

 1.       เตรียมข้อมูลร้านค้าและสินค้าที่ต้องการขาย

เริ่มต้นด้วยการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้าของคุณ เช่น ชื่อร้านค้า ที่อยู่สำหรับติดต่อ และรายละเอียดสินค้า ข้อมูลสินค้าควรรวมถึงคำอธิบายที่ชัดเจน รูปภาพคุณภาพสูง และราคาที่แข่งขันได้ ชื่อธุรกิจหรือชื่อแบรนด์ (ถ้ามี) และประเภทสินค้าที่ต้องการขาย (ระบุหมวดหมู่สินค้าที่ชัดเจน) โดยปัจจุบัน Amazon มีหมวดหมู่สินค้าให้เลือกขายได้มากกว่า 30 หมวดหมู่ อาทิ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเส้นผม, ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ สินค้าสำหรับเด็ก และหมวดหมู่อื่นๆ ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ >> https://sell.amazon.co.th/sell/product-category?ref_=sdth_soa_product-cat_i

 2.        เลือกแผนการขายที่เหมาะสม

การวางแผนการขายเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้การสมัครขายของในอเมซอนของคุณผ่านง่ายขึ้น โดยAmazon มีแผนการขาย 2 ประเภท ระหว่างIndividual และ Professional ให้เลือกขายตามความเหมาะสมของสินค้า คือ

  • Individual Account: เหมาะสำหรับผู้ขายรายย่อยหรือผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจ โดยไม่มีค่าธรรมเนียมรายเดือน แต่จะมีค่าธรรมเนียมต่อการขายสินค้าแต่ละชิ้น
  • Professional Account: เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขายสินค้าในปริมาณมาก มีค่าธรรมเนียมรายเดือนประมาณ $39.99 แต่ไม่มีค่าธรรมเนียมต่อชิ้น

 3.        เตรียมเอกสารยืนยันตนให้เรียบร้อย

เมื่อมาถึงขั้นตอนการยืนยันตัวตน Amazon จะขอเอกสารสำคัญเพื่อใช้ยืนยันตัวตน ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (Passport) เพื่อใช้สำหรับยืนยันตัวตน
  • ที่อยู่ปัจจุบัน โดยต้องใช้หลักฐานที่อยู่ เช่น บิลค่าสาธารณูปโภค (ไม่เกิน 90 วัน)
  • บัญชีธนาคาร สำหรับรับเงินโอนจาก Amazon (บัญชีธนาคารที่แนะนำควรสามารถรับเงินต่างประเทศได้)
  • หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อใช้รับรหัสยืนยันตัวตน (OTP)

4.       สมัครบัญชี Payoneer และบัตรเครดิต

หลังจากเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมในขั้นตอนต่อมาคือบัญชี Payoneer เพื่อใช้ในการรับเงินค่าสินค้า เนื่องจาก Amazon ไม่รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อผ่าน Paypal และร้านค้าในประเทศไทยจะไม่สามารถรับชำระเงินผ่านการโอนจาก Amazon เข้ามายังบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้โดยตรง ดังนั้นก่อนขายสินค้า ร้านค้าจะต้องทำการสมัครบัญชี Payoneer และเชื่อมบัญชีนี้กับ Amazon เพื่อให้สามารถถอนรายได้ของคุณได้อย่างสะดวก และ Amazon จะใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตที่คุณลงทะเบียนไว้ในการหักชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมรายเดือนหรือค่าบริการเสริมอื่นๆ ในขั้นตอนการซื้อขายสินค้า

 5.        สร้างอีเมลที่จะใช้ในการสมัคร

สร้างอีเมลใหม่เพื่อใช้สำหรับบัญชีผู้ขายใน Amazon เท่านั้น เพื่อแยกการจัดการธุรกิจออกจากอีเมลส่วนตัวโดยชัดเจน โดยอีเมลนั้นต้องเป็นแอคเคาท์ที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายและตั้งค่าความปลอดภัยผ่านการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (2FA) เพื่อป้องกันข้อมูลบัญชีแล้วเรียบร้อย

 [เคล็ดลับ] ในการสมัครขายของในอเมซอนให้ผ่าน

  1. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและชัดเจน โดยใช้เอกสารที่ตรงกับชื่อที่สมัคร และถ่ายรูปหรือสแกนเอกสารให้ถูกต้อง
  2. ข้อมูลที่อยู่และบัญชีธนาคารต้องตรงกับเอกสารที่ยื่น
  3. เลือกหมวดหมู่สินค้าที่เหมาะสม และตรวจสอบว่าสินค้าที่จะขายไม่อยู่ในหมวดหมู่ที่ต้องการการอนุมัติเพิ่มเติม (เช่น ยา อาหาร หรือเครื่องสำอาง)
  4. ติดตามสถานะการสมัคร ซึ่งหากการสมัครถูกปฏิเสธ คุณสามารถติดต่อทีมสนับสนุนของ Amazon เพื่อสอบถามและแก้ไขข้อผิดพลาด

 การสมัครขายของในอเมซอนจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอย่างละเอียด เพราะการเตรียมข้อมูลเหล่านี้ให้ครบถ้วนและถูกต้องก่อนทำการสมัคร จะช่วยให้กระบวนการสมัครขายสินค้าบน Amazon ของคุณผ่านไปได้อย่างราบรื่นแล้วสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นนั่นเอง *เพิ่มเติม Amazon มีค่าธรรมเนียมหลายประเภท เช่น ค่าธรรมเนียมการขาย ค่าเก็บสินค้าในคลัง FBA (Fulfillment by Amazon) อย่าลืมศึกษาค่าธรรมเนียมต่างๆ ทุกครั้งก่อนลงขายสินค้า เพื่อวางแผนต้นทุนและกำหนดราคาสินค้าได้อย่างเหมาะสม

 สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ epacket | SME Shipping

epacket คืออะไร? สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการจัดส่ง ePacket

ePacket เป็นการส่งสินค้าด้วยบริการทางเลือกที่ประหยัดเวลา และต้นทุนต่ำจึงเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดเล็กที่ต้องการส่งไปยังต่างประเทศ ซึ่งก่อนที่คุณจะเลือกใช้บริการนี้จะต้องทำความเข้าใจและทำความรู้ตักกับการจัดส่งสินค้าประเภทนี้ก่อน เพื่ให้คุณสามารถเลือกใช้บริการนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

epacket คืออะไร?

ePacket เป็นบริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเริ่มต้นจากความร่วมมือระหว่าง China Post และ USPS (United States Postal Service) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ eCommerce โดยเฉพาะสำหรับการส่งพัสดุขนาดเล็กจากจีนและฮ่องกงไปยังประเทศอื่น ๆ ให้มีความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งบริการนี้ได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถส่งสินค้าได้ในระยะเวลาอันสั้นกว่าการขนส่งแบบธรรมดา ทำให้เหมาะสำหรับผู้ขายออนไลน์ที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศ ซึ่งการจัดส่งแบบ ePacket จะช่วยให้ลูกค้าได้รับสินค้าภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยสามารถติดตามสถานะพัสดุได้แบบเรียลไทม์ในระหว่างการรอ โดยการจัดส่งเริ่มต้นจากผู้ให้บริการในฮ่องกงหรือจีนที่นำพัสดุไปยังชายแดน จากนั้นพัสดุจะถูกขนส่งต่อไปยังประเทศปลายทางผ่านผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ และเมื่อพัสดุข้ามชายแดนปลายทางมาแล้วจึงจะถูกนำส่งโดยผู้ให้บริการในประเทศปลายทางนั้นๆ เพื่อทำการส่งพัสดุให้ตามสถานที่และวิธีการจัดส่งที่ลูกค้าเลือกไว้

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการจัดส่ง ePacket

การเลือกใช้บริการ ePacket สำหรับการจัดส่งพัสดุระหว่างประเทศนั้นมีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะในธุรกิจ eCommerce ที่ต้องการส่งสินค้าขนาดเล็กไปยังลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งหากคุณคือคนที่กำลังเริ่มต้นทำธุรกิจแล้วกำลังศึกษาข้อมูลการขนส่งแบบ ePacket ตามพวกเรามาดูสิ่งที่ควรรู้ก่อนทำการขนส่งสินค้าประเภทนี้กัน

  1. ePacket เป็นบริการที่มีต้นทุนต่ำและส่งสินค้าได้รวดเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการขนส่งทางไปรษณีย์แบบปกติ แม้ว่าจะไม่เร็วเท่าบริการขนส่งด่วน (Express) แต่ยังสามารถจัดส่งสินค้าภายใน 7-20 วันทำการ ขึ้นอยู่กับประเทศปลายทาง
  2. บริการ ePacket เหมาะกับพัสดุขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และขนาดพัสดุต้องไม่เกินข้อกำหนดที่ระบุ เช่น ความยาวไม่เกิน 60 ซม. และผลรวมความยาว ความกว้าง และความสูงไม่เกิน 90 ซม. หากสินค้าของคุณมีขนาดใหญ่กว่านี้ อาจต้องเลือกใช้บริการขนส่งอื่น
  3. ระบบการติดตามสถานะพัสดุแบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถตรวจสอบสถานะของพัสดุได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และรองรับการจัดส่งไปยังหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรป โดยเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจที่มีลูกค้าจากหลากหลายประเทศ
  4. ค่าบริการจัดส่งราคาถูกกว่าบริการขนส่งด่วน (Express) และสามารถช่วยลดต้นทุนในการจัดส่งสำหรับธุรกิจ eCommerce ที่ขายสินค้าขนาดเล็ก
  5. หากพัสดุไม่สามารถจัดส่งได้ (เช่น ที่อยู่ปลายทางไม่ถูกต้องหรือไม่สามารถติดต่อผู้รับ) พัสดุจะถูกส่งกลับไปยังผู้ส่งโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยไร้ประโยชน์
  6. ไม่เหมาะสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ เพราะePacket จำกัดน้ำหนักพัสดุไม่เกิน 2 กิโลกรัม ความยาวไม่เกิน 60 ซม. และผลรวมความยาว ความกว้าง และความสูงไม่เกิน 90 ซม.

ePacket เป็นบริการที่ที่เหมาะสำหรับการจัดส่งสินค้าขนาดเล็กไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ eCommerce ที่ต้องการส่งสินค้าอย่างรวดเร็วและประหยัด ต้นทุนค่าส่งที่ต่ำ มีระบบติดตามที่โปร่งใสทำให้การขนส่งสินค้าของคุณไปยังลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ePacket จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ขายออนไลน์ที่ต้องการส่งพัสดุขนาดเล็กไปต่างประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ eCommerce ที่มีฐานลูกค้าในหลายประเทศ