Shipping Label คืออะไรกับสิ่งที่คุณควรรู้ | SME Shipping

Shipping Label คืออะไร? วิธีทำให้ถูกต้องเพื่อลดความผิดพลาดในการขนส่ง

ในยุคที่การค้าขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญ หนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยให้กระบวนการนี้ราบรื่นคือ “Shipping Label” หรือ ฉลากขนส่ง เป็นอีกหนึ่งเอกสารที่แนบมากับพัสดุเพื่อนำส่งสินค้าไปยังปลายทาง เพื่อช่วยลดความผิดพลาดในระหว่างการขนส่ง เพราะหากฉลากขนส่งมีข้อผิดพลาด อาจทำให้พัสดุตกหล่น ส่งล่าช้า หรือถึงที่หมายผิดพลาดได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการและผู้ส่งสินค้าจึงควรให้ความสำคัญกับการออกแบบและติดตั้ง Shipping Label อย่างถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ของ SME Shipping จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Shipping Label และวิธีการใช้งานให้ถูกต้องเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการขนส่ง

Shipping Label คืออะไร

Shipping Label คือ ฉลากที่ระบุข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพัสดุ เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้ส่ง ชื่อและที่อยู่ผู้รับ หมายเลขติดตามพัสดุ (Tracking Number) บาร์โค้ด หรือ QR Code ที่ใช้สำหรับตรวจสอบสถานะการจัดส่ง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทขนส่ง ขนาด น้ำหนัก และประเภทของสินค้า ฉลากนี้ช่วยให้บริษัทขนส่งสามารถจัดการพัสดุได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ภาพประกอบ: https://craftmypdf.com/tools/free-online-shipping-label-maker/ 

ความสำคัญของ Shipping Label

หนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยให้พัสดุถึงมือผู้รับได้อย่างถูกต้องคือ Shipping Label หรือ ฉลากขนส่ง ซึ่งเป็นสติกเกอร์หรือเอกสารที่ติดอยู่บนกล่องพัสดุเพื่อระบุรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการจัดส่ง โดย Shipping Label ที่ชัดเจนและถูกต้องไม่เพียงช่วยให้บริษัทขนส่งดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังลดปัญหาการส่งผิดพลาดและป้องกันพัสดุสูญหาย และข้อดีอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการควรใช้ให้ถูกต้อง ได้แก่

  1. ป้องกันข้อผิดพลาดในการจัดส่ง เพราะข้อมูลที่ถูกต้องช่วยให้พัสดุถูกส่งไปยังที่หมายอย่างแม่นยำ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ช่วยให้บริษัทขนส่งสามารถคัดแยกและจัดลำดับการส่งได้ง่ายขึ้น
  3. ติดตามสถานะพัสดุได้สะดวกจากหมายเลขติดตามและบาร์โค้ด ช่วยให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถตรวจสอบสถานะสินค้าได้ตลอดเวลา
  4. ลดต้นทุนจากการส่งผิดหรือสูญหาย หาก Shipping Label ชัดเจนและถูกต้อง จะช่วยลดโอกาสที่พัสดุจะถูกส่งผิดที่หรือสูญหาย 

วิธีลดความผิดพลาดในการขนส่งด้วย Shipping Label

  1. ตรวจสอบที่อยู่ผู้รับให้ละเอียด โดยชื่อที่อยู่ของผู้รับต้องถูกต้องและครบถ้วน รวมถึงรหัสไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการสะกดชื่อผิด หรือที่อยู่ไม่ชัดเจน
  2. เลือกบริการขนส่งที่เหมาะสม ต้องคำนึงถึงขนาด น้ำหนัก ประเภทของสินค้า เลือกขนาดกล่องหรือพัสดุที่พอดีกับสินค้าจะช่วยลดความเสียหายและค่าส่ง
  3. ระบุรายละเอียดการติดตาม (Tracking Number) เพื่อให้สามารถตรวจสอบว่าเลขพัสดุ (Tracking Number) ถูกรวมใน Shipping Label และสามารถใช้ติดตามสถานะของการขนส่งได้
  4. ตรวจสอบความชัดเจนและความสมบูรณ์ของข้อมูล โดยเลือกใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรเล็ก หรือฟอนต์ที่ยากต่อการอ่าน
  5. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการชำระเงิน (ถ้ามี)
  6. ติดป้ายในที่ที่เหมาะสม โดยป้ายควรติดที่ด้านบนหรือด้านข้างของพัสดุ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ขนส่งสามารถเห็นข้อมูลได้ชัดเจน และหากมีหลายป้ายควรติดให้พอดี และตรวจสอบว่าไม่มีข้อมูลซ้ำซ้อน
  7. ตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขในการส่งสินค้าของบริการขนส่งว่ามีข้อจำกัดหรือสินค้าบางประเภทห้ามส่งหรือไม่ เช่น ของเหลวหรือของอันตราย

การให้ความสำคัญกับ Shipping Label และตรวจสอบรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนการส่งพัสดุ จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการขนส่ง สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า และช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ควรมองหาสำหรับบริการช่วยแพ๊คสินค้า | SME Shipping

บริการที่ควรมองหาสำหรับบริการช่วยแพ๊คสินค้า

การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งสินค้า หนึ่งในสิ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ คือการแพ็คสินค้าก่อนนำไปส่งให้กับผู้รับ เพราะหากสินค้าที่แพ็คไปเกิดความสเียหายระหว่างการขนส่งก็อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะด้านความน่าเชื่อถือและต้นทุนการขนส่งที่ต้องรับเมื่อลูกค้าตีของกลับมายังร้านของผู้ประกอบการ ซึ่งในบทความนี้ของ SME Shipping จะพาคุณไปทำความรู้จักกับบริการที่ควรมองหาเมื่อต้องการใช้บริการช่วยแพ็คสินค้า

บริการแพ็คสินค้า คืออะไร?

บริการแพ็คสินค้า คือบริการที่ช่วยบรรจุและจัดเตรียมสินค้าสำหรับการจัดส่งหรือจำหน่าย โดยมุ่งเน้นให้สินค้าถูกแพ็คอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีมาตรฐาน ซึ่งช่วยลดความเสียหายระหว่างการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เป็นอีกบริการที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดในการขนส่ง เพราะผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้บริการแพ็คสินค้าที่เหมาะสมสามารถช่วยให้สินค้าถูกบรรจุอย่างปลอดภัย ลดความเสียหายระหว่างการขนส่ง และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าด้วยบริการที่มีมาตรฐาน

องค์ประกอบของบริการแพ็คสินค้า

  • การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กล่องกระดาษ แพ็คสูญญากาศ หรือกันกระแทก
  • การซีลหรือห่อหุ้มสินค้า เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือการกระแทก
  • การติดฉลากหรือบาร์โค้ด เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและจัดส่ง
  • บริการเสริมอื่น ๆ เช่น การจัดเซ็ตสินค้า การพิมพ์โลโก้ หรือการแพ็คตามเงื่อนไขเฉพาะ

ความสำคัญของบริการแพ็คสินค้าในระบบโลจิสติกส์

บริการแพ็คสินค้ามีบทบาทสำคัญในระบบโลจิสติกส์ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหาย และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า การแพ็คสินค้าที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันความเสียหายระหว่างการขนส่ง แต่ยังช่วยให้กระบวนการจัดเก็บ คัดแยก และจัดส่งเป็นระบบมากขึ้น

  1. ป้องกันความเสียหายของสินค้า ลดความเสี่ยงจากการกระแทก ความชื้น หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้สินค้าชำรุดระหว่างการขนส่ง
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง เพราะการแพ็คที่ดีช่วยให้สินค้าสามารถซ้อนกันได้ง่าย ประหยัดพื้นที่ในคลังสินค้าและพาหนะขนส่ง
  3. ช่วยให้การบริหารคลังสินค้าเป็นระบบมากขึ้น เพราะสินค้าที่ถูกแพ็คอย่างเหมาะสมสามารถจัดเก็บและคัดแยกได้ง่าย ลดเวลาการค้นหาและขนย้าย
  4. เพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจ เนื่องจากการแพ็คสินค้าที่ดีช่วยให้สินค้าถึงมือลูกค้าในสภาพสมบูรณ์ สร้างความพึงพอใจ และเพิ่มโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำจากความใส่ใจในข้อนี้
  5. รองรับการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว บริการแพ็คสินค้าช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการคำสั่งซื้อจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เลือกบริการแพ็คที่มั่นใจ เลือกใช้ SME Shipping

หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการแพ็คสินค้าที่มีคุณภาพ SME Shipping เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาด โดยให้บริการแพ็คสินค้าระดับมืออาชีพที่ช่วยลดความยุ่งยากของผู้ประกอบการ และช่วยให้กระบวนการขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นด้วยการบริการที่ใส่ในทุกสินค้าของคุณ รวมทั้งข้อดีอื่นๆ เมื่อใช้บริการของเรา อาทิ

  • ใช้วัสดุคุณภาพสูงในการแพ็คสินค้าตามมาตรฐานสากล เพื่อลดความเสียหายระหว่างขนส่ง
  • รองรับทั้งสินค้าเปราะบาง สินค้าน้ำหนักเบา และสินค้าขนาดใหญ่
  • ไม่ต้องเสียเวลาจัดเตรียมอุปกรณ์เอง SME Shipping ดูแลให้ทั้งหมด เพื่อช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการทำงาน
  • รองรับการขนส่งระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานศุลกากร พร้อมบริการขนส่งทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

วิธีการคำนวนภาษีนำเข้าสำหรับผู้ประกอบการ | SME Shipping

วิธีการคำนวณภาษีนำเข้าที่ผู้ประกอบการควรรู้

การนำเข้าสินค้าเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเพื่อบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการทำความรู้จักกับภาษีนำเข้าไม่ได้มีเพียงแต่อากรขาเข้าเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการยังจะสามารถคำนวณเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของสินค้าในธุรกิจนั้นๆ ของตนเองได้ด้วย ซึ่งการคำนวณภาษีที่ถูกต้องช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนด้านการเงินได้อย่างแม่นยำ ลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด รวมถึงช่วยให้ปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรได้อย่างถูกต้อง ซึ่งวันนี้ SME Shipping จะมาอธิบายวิธีการคำนวณภาษีนำเข้าพร้อมตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

การคำนวณภาษีนำเข้าที่ผู้ประกอบการควรรู้มีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้

1. องค์ประกอบของภาษีนำเข้า

ภาษีนำเข้าประกอบด้วยค่าภาษีหลายประเภท ได้แก่

  • อากรขาเข้า (Import Duty) – คิดตามพิกัดอัตราศุลกากร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT – Value Added Tax) – คิดจากมูลค่าสินค้ารวมอากรขาเข้า
  • ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) [ถ้ามี] – คิดเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าต้องห้ามบางประเภท
  • ภาษีเพื่อมหาดไทย (Local Tax) [ถ้ามี] – ใช้กับสินค้าบางประเภท

ในการนำเข้าสินค้าไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม ผู้นำเข้าสินค้านั้นๆ จะต้องทำความเข้าใจวิธีการคำนวณภาษีเพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าภาษีต้นทุนที่ต้องนำไปกำหนดราคาขายด้วย โดยกรมศุลกากรมีวิธีการคิดภาษีนำเข้าโดยใช้ราคา CIF (Cost Insurance and Freight) ที่เป็นมูลค่ารวมของสินค้า ณ ท่าเรือปลายทาง ซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีนำเข้า โดยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. Cost (C) – ราคาสินค้า ณ ต้นทาง (FOB – Free on Board)
  2. Insurance (I) – ค่าประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่ง 
  3. Freight (F) – ค่าขนส่งสินค้าจากต้นทางถึงปลายทาง

กรมศุลกากรจะใช้ ราคา CIF เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีนำเข้า เช่น อากรขาเข้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการลดมูลค่าสินค้า

2. สูตรการคำนวณภาษีนำเข้า

การคำนวณภาษีที่ถูกต้องช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมต้นทุน ลดความเสี่ยงจากค่าปรับ และปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรได้อย่างถูกต้อง และวิธีการคำนวณภาษีนำเข้าที่ผู้ประกอบการควรรู้ มีสูตรการคำนวณ ดังนี้

  • คำนวณราคา CIF: ค่าสินค้า+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่งระหว่างประเทศ=CIF
  • คำนวณอากรขาเข้า: CIF×อัตราภาษีขาเข้า(%) = อากรขาเข้า (อัตราภาษีขาเข้าอาจเป็น 5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า)
  • คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%): (CIF+อากรขาเข้า)×7%=ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • รวมภาษีนำเข้าที่ต้องชำระ: อากรขาเข้า+ภาษีมูลค่าเพิ่ม=มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ

ผู้ประกอบการต้องคำนวณภาษีนำเข้าอย่างถูกต้องทุกครั้งในการนำเข้าสินค้า เพื่อให้สามารถวางแผนต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมศุลกากรใช้ ราคา CIF (Cost, Insurance, and Freight) เป็นฐานในการคำนวณภาษีนำเข้า ซึ่งรวมถึง อากรขาเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การเข้าใจสูตรการคำนวณที่ถูกต้องจะช่วยลดความผิดพลาดและทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น


ข้อควรรู้เพิ่มเติม

✅ ตรวจสอบ HS Code (พิกัดศุลกากร) ของสินค้า เพื่อทราบอัตราภาษีที่ถูกต้อง
✅ ตรวจสอบ FTA (ข้อตกลงการค้าเสรี) อาจได้รับสิทธิพิเศษลดภาษี
✅ ใช้ ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Form) ประกอบการนำเข้าทุกครั้ง

ส่งกับเราครั้งแรกลด 350 บาท

ส่งกับเราครั้งแรก ลด 350 บาท

เงื่อนไขการให้บริการ

– ลูกค้าใหม่ส่งครั้งแรกรับส่วนลด 350 บาท เมื่อมียอดการส่งถึง 3,500 บาท
– ไม่จำกัดประเทศการส่ง
– เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด