ผู้ประกอบการไทย ควรรับมือกับกำแพงภาษีจากต่างประเทศอย่างไร
ในโลกของการค้าเสรี ความสามารถในการแข่งขันไม่ใช่แค่เรื่องของคุณภาพหรือราคาเท่านั้น แต่ยังรวมถึง “อุปสรรคทางการค้า” ที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ กำแพงภาษี (Tariff Barriers) ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศปลายทาง ซึ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญหน้า โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจโลกผันผวนและนโยบายการค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วผู้ส่งออกไทยจะปรับตัวยังไงให้รอดและโต? ในบทความนี้ของ SME Shipping จะพาไปดูว่าผู้ประกอบการควรรู้และรับมืออย่างไรกับสถานการ์การค้าแบบนี้
กำแพงภาษี มีผลอย่างไรต่อการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ?
กำแพงภาษี คือการเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้า ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าไทยในประเทศปลายทาง สูงขึ้น และ แข่งขันได้ยากลง เมื่อเทียบกับสินค้าภายในประเทศหรือคู่แข่งจากประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้แก่:
- ยอดขายลดลง เพราะผู้บริโภคเลือกสินค้าที่ถูกกว่า
- กำไรหาย จากการต้องลดราคาขายเพื่อรักษาลูกค้า
- เสียเปรียบด้านเวลาและต้นทุน จากกระบวนการตรวจสอบเอกสารและชำระภาษีเพิ่มเติม
กระทบสินค้าส่งออกอะไรบ้าง?
สินค้าจากไทยที่มักได้รับผลกระทบจากกำแพงภาษีต่างประเทศ เช่น:
- สินค้าเกษตร: ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้แปรรูป
- สินค้าอุตสาหกรรม: เหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
- สินค้าแฟชั่นและสิ่งทอ: เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากประเทศปลายทางไม่มีข้อตกลง FTA กับไทย หรือยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษี (เช่น GSP) ก็ยิ่งทำให้สินค้าของไทยแพงขึ้นทันที
รัฐบาลไทย รับมืออย่างไร?
รัฐบาลมีมาตรการหลายอย่างเพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยรับมือกับกำแพงภาษี เช่น:
- เจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้าใหม่ เช่น อียู อินเดีย กลุ่ม Mercosur
- ส่งเสริมการขอใช้สิทธิพิเศษภาษี เช่น FTA Form D, Form E หรือ CPTPP
- สนับสนุนข้อมูลเชิงลึกและอบรมผู้ประกอบการ ผ่านกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมศุลกากร
- สร้างตราสินค้าและมาตรฐานใหม่ เพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันด้านมูลค่า ไม่ใช่แค่ราคา เช่น การรับรองคุณภาพ ความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม
การเลือก “ตลาดส่งออกที่มีภาษีต่ำ” หรือ “ตลาดที่ไทยมีข้อตกลง FTA” ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถ ลดต้นทุน และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุคที่หลายประเทศเริ่มกลับมาใช้กำแพงภาษีเพื่อปกป้องตลาดภายในประเทศ ซึ่งการวางแผนใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี FTA (Free Trade Agreement) สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้อย่างมั่นคง
ยกตัวอย่างการใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ เช่น:
- ผู้ผลิตผลไม้แปรรูป
- ส่งออกไปจีน ใช้ Form E
- ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า 100%
- คู่แข่งจากเวียดนามที่ไม่มีสิทธิ์ Form E ถูกเก็บภาษี 10% สินค้าไทยได้เปรียบด้านราคา
กำแพงภาษีคือความท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคที่ก้าวข้ามไม่ได้ หากเข้าใจระบบภาษีนำเข้าอย่างดี และใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่ไทยมีอยู่ ผู้ประกอบการสามารถ