ยากไหม? หากผู้ประกอบการจะดำเนินการนำเข้าส่งออกสินค้าด้วยตัวเอง
การนำเข้าส่งออกสินค้าเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย พิธีการศุลกากร เอกสารต่างประเทศ และระบบโลจิสติกส์ ซึ่งฟังดูอาจซับซ้อนสำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากเริ่มสนใจเรียนรู้และดำเนินการด้วยตนเอง เพื่อประหยัดต้นทุนและควบคุมกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีความเข้าใจที่ถูกต้องและเตรียมตัวอย่างเหมาะสม การนำเข้าส่งออกด้วยตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป ซึ่งบทความนี้ของ SME Shipping จะพาคุณไปรู้จักกับเรื่องควรรู้เบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มนำเข้าส่งออกสินค้าด้วยตัวเอง
สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้หากต้องการนำเข้าส่งออกด้วยตนเอง
1. การจดทะเบียนและขอรหัสประจำตัวผู้ประกอบการ (Exporter/Importer Code)
ก่อนจะสามารถนำเข้าส่งออกได้ ผู้ประกอบการต้องลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร ผ่านระบบ e-Customs โดยจะได้รับรหัสประจำตัว (Customs Registration ID) เพื่อใช้ในการระบุตัวตนในระบบของกรมศุลกากรทุกครั้งที่ทำธุรกรรม *แนะนำให้ดำเนินการขอรหัสตั้งแต่ก่อนเริ่มธุรกิจจริง เพื่อให้พร้อมเมื่อมีคำสั่งซื้อ
2. การเรียนรู้เรื่องพิกัดศุลกากร (HS Code)
HS Code (Harmonized System Code) เป็นรหัสตัวเลข 6-10 หลักที่ใช้จำแนกประเภทสินค้าในระดับสากล ซึ่งจะส่งผลต่อ
- อัตราภาษีที่ต้องชำระ
- ความจำเป็นในการขอใบอนุญาต
- ข้อจำกัดเฉพาะของสินค้า (เช่น อาหาร, ยา, เครื่องมือแพทย์ ฯลฯ) หากใส่รหัสผิด สินค้าอาจโดนยึด ติดด่าน หรือถูกปรับย้อนหลังได้
3. เอกสารที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าส่งออก
ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ อย่างครบถ้วน ซึ่งจะใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากร รับ-ส่งสินค้า ยืนยันข้อมูลกับคู่ค้าและหน่วยงานราชการ โดยเอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียม เช่น
- Commercial Invoice: รายการสินค้า ราคาขาย
- Packing List: รายละเอียดการบรรจุหีบห่อ
- Bill of Lading / Air Waybill: เอกสารขนส่ง
- ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก (หากจำเป็น)
- C/O (Certificate of Origin): เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้เขตการค้าเสรี (FTA)
4. ความรู้เรื่องภาษีและอากร
ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าส่งออกด้วยตนเองจะต้องมีความรู้เรื่องภาษีและอากรเบื้องต้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหารเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง รวมทั้งนำไปใช้ในการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงต้องรวมในสินค้าแต่ละครั้งที่ส่งออก อาทิ ภาษีนำเข้า (Import Duty) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และ ภาษีสรรพสามิต (ในบางประเภทสินค้า เช่น สุรา น้ำหอม เครื่องใช้ไฟฟ้า)
5. พิธีการศุลกากรและระบบ e-Customs
ทุกการนำเข้าส่งออกต้องผ่านการยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น
- e-Customs: สำหรับยื่นใบขนสินค้า
- NSW (National Single Window): สำหรับขอใบอนุญาตจากหน่วยงานต่างๆ แบบออนไลน์
หากยังไม่มีความชำนาญ อาจใช้ ตัวแทนออกของ (Customs Broker) ช่วยดำเนินการในช่วงเริ่มต้นก่อน
6. การเลือกบริษัทขนส่งหรือชิปปิ้ง (Freight Forwarder / Shipping Agent)
ในการนำเข้าส่งออกสินค้า “การขนส่ง” ถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับต้นทุน เวลา และความปลอดภัยของสินค้าโดยตรง แม้ผู้ประกอบการจะดำเนินพิธีการศุลกากรด้วยตนเองได้ แต่ก็มักต้องอาศัย บริษัทขนส่ง (Freight Forwarder) หรือ ชิปปิ้ง (Shipping Agent) ในการจัดการขนส่งระหว่างประเทศและดูแลเอกสารขนส่งที่ซับซ้อน เช่น
- แนะนำเส้นทางที่ประหยัด
- เจรจากับสายเรือ/สายการบิน
- ตรวจสอบเอกสารขนส่งให้ถูกต้อง
แม้ว่าการนำเข้าส่งออกด้วยตัวเองจะมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่หากผู้ประกอบการมีความตั้งใจเรียนรู้ เข้าใจระบบ และวางแผนอย่างรอบคอบ ก็สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งประหยัดต้นทุนในระยะยาวอีกด้วย